Back to basic , go to inner .
สาลัมพะ สรรวางคาสนะ Salamba Sarvāngāsana ( सर्वाङ्गासन)
สาลัมพะ สรรวางคาสนะ Salamba Sarvāngāsana ( सर्वाङ्गासन)

u0E2Au0E32u0E25u0E31u0E21u0E1Eu0E30  u0E2Au0E23u0E23u0E27u0E32u0E07u0E04u0E32u0E2Au0E19u0E30

 

Salamba แปลว่า ด้วยเครื่องค้ำยัน (supported or with support)

Sarva แปลว่า ทั้งหมด (all or every)

Anga แปลว่า ระยางค์ของร่างกาย (limbs or body parts)

 

สรรวางคาสนะ จึงแปลรวมว่า “ท่าที่ใช้ทุกๆส่วนของร่างกาย” ท่าอาสนะนี้เป็นอาสนะที่สำคัญมาก จนได้ชื่อว่าเป็น ราชินีแห่งอาสนะทั้งปวง (เคียงคู่ไปกับท่าศีรษะอาสนะซึ่งเป็น ราชาแห่งอาสนะทั้งปวง)

ท่าเต็มยศของอาสนะนี้ คือ ร่างกายที่เป็นเส้นตรง น้ำหนักเกือบทั้งหมดทิ้งดิ่งลงตรงๆที่ช่วงบ่าที่สัมผัสกับพื้น ร่างกายที่จัดระเบียบเป็นเส้นตรงนี้นับตั้งแต่ช่วงหน้าอก หลังส่วนบน เอว สะโพก ต้นขา หัวเข่า หน้าแข็ง ข้อเท้า และปลายเท้า

เมื่อร่างกายเป็นเส้นตรงสมบรูณ์แล้ว แรงโน้มถ่วงโลกจะทำหน้าที่อันซื่อตรงของมัน น้ำหนักตัวของเราช่วงตั้งแต่ปลายเท้าจนถึงหัวไหล่ก็จะทิ้งดิ่งลงเป็นเส้นตรงผ่านจุดศูนย์ถ่วง (Center of Gravity) บริเวณสะโพก และลงบนบริเวณบ่าไหล่ทั้งสองข้าง โดยมีมือและข้อศอกเป็นเพียงเครื่องค้ำยันในการทรงตัว น้ำหนักเพียงเล็กน้อยถูกกระจายไปที่ข้อศอกและลำคอ ศรีษะที่สัมผัสบนพื้น

การที่เราสามารถจัดระเบียบร่างกายให้เป็นเส้นตรงได้นั้น ต้องอาศัยการช่วยกันอย่างแข็งขันของกล้ามเนื้อทุกๆส่วนของร่างกาย อันเป็นที่มาของชื่ออาสนะว่า “ท่าที่ใช้ทุกๆส่วนของร่างกาย” ดังจะอธิบายเป็นส่วนๆชิ้นๆชัดๆดังต่อไปนี้

บริเวณหน้าอกขยายออกเพื่อส่งเสริมให้กระดูกสันหลังตั้งขึ้นเป็นแนวเส้นตรงได้

กล้ามเนื้อหน้าท้องทำงานโดยทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของฐานที่พยุงร่างกายให้ตั้งขึ้นได้

  1. สะโพกด้านหน้าทำหน้าที่เหยียดออกเพื่อให้กระดูกเชิงกราน shift มาอยู่ในระนาบเดียวกันกับหัวไหล่(ฐาน) และช่วยผลักให้ขาทั้งสองข้างชี้ขึ้นท้องฟ้า
  2. กล้ามเนื้อบริเวณก้นทำงานเพื่อไม่ให้ขาโน้มไปข้างหน้ามากจนเกินไป หรือโน้มออกนอกแนวฐานและจุดศูนย์ถ่วง
  3. ต้นขาด้านใน active เพื่อควบคุมให้ขาทั้งสองข้างชิดติดกัน ช่วยให้ขาและร่างกายที่ทรงตัวกลางอากาศนิ่ง ไม่ส่ายแส่/ตุบเป๋ไปมา
  4. กล้ามเนื้อหน้าขา (Quadriceps) ทำงานโดยการหดตัวเพื่อให้ขาสามารถยืดตรง/ เข่าตึงไม่งอ และช่วยพยุงน้ำหนักของขาทั้งสองที่ลอยอยู่กลางอากาศ
  5. กล้ามเนื้อน่องและหนาแข้ง ก็ทำงานนะช่วยๆกันไป
  6. นิ้วเท้าปลายเท้าชี้ขึ้นฟ้า เพื่อช่วยให้มีเสถียรภาพในการทรงตัวมากยิ่งขึ้น

โอ่ย.. หลายสิ่งหลายส่วน “สรรวางคะ” จริงๆนะคะ

อ.สุวินัยได้กล่าวถึงประโยชน์ของสรรวางคาสนะเอาไว้ดังนี้ค่ะ

ความสำคัญของสรรวางคะอาสนะนั้นมีมากเหลือเกิน เพราะท่าอาสนะนี้เป็นดุจยาครอบจักรวาล สำหรับบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นแก่มนุษย์เป็นประจำ เนื่องจากท่าอาสนะต่างๆ ของโยคะล้วนมีผลโดยตรงต่อการทำงานของต่อมไร้ท่อต่างๆ ในร่างกายของคนเรา โดยช่วยให้มันทำงานได้ดีขึ้น สรรวางคะอาสนะมีผลต่อต่อมไทรอยด์ และพาราไทรอยด์ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณลำคอ เนื่องจากการที่คางถูกจับยึดไว้อย่างแน่นหนาตอนทำท่าอาสนะนี้ จึงทำให้กระแสโลหิตที่มาหล่อเลี้ยงต่อมทั้งสองเพิ่มมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากเท้าชี้ฟ้าตอนทำท่าอาสนะนี้ ทำให้การไหลเวียนของโลหิตดำกลับสู่หัวใจเป็นไปอย่างสะดวก และทำให้โลหิตแดงมาหล่อเลี้ยงบริเวณลำคอและหน้าอกเป็นจำนวนมาก ผู้ฝึกอาสนะท่านี้อย่างสม่ำเสมอจะรู้สึกเปี่ยมไปด้วยพลัง รู้สึกเข้มแข็งมีชีวิตชีวา และรู้สึกถึงความร่าเริง เบิกบานของชีวิตอยู่เสมอ

คำอธิบายอาสนะ มาจากครูวิเวก Vivekananda Vivek Rawat @ Roots8 yoga ขอขอบคุณครูค่ะ

ประโยชน์ของอาสนะมาจาก: แนวทางการเสริมสร้างสุขภาพอย่างบูรณาการ โดย ดร.สุวินัย ภรณวลัย http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx… ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ

ภาพต้นฉบับจาก: http://shantistation.com/sarvangasana/#.VNOjqdKUfT8 และ http://www.healthandfitnesstravel.com/…/healthy-ageing-jus…/

 

เรียบเรียงโดย  “นักเรียนหน้าห้อง”

Posted by Roots8Yoga 0 Comments

0 comments

The comments are closed