Back to basic , go to inner .

Our Teacher

yoga

 

Interview : Teacher Vivek Singh 09/12/14 by cafe’ Bangrak

เราอยากทำความรู้จักอาจารย์มากกว่าความเป็นอาจารย์เฉพาะในคลาสสอน สวัสดีค่ะ

สวัสดีครับ (พูดไทยชัดแจ๋ว)

 

ถามอายุกันเลย ลูกศิษย์หลายคนอยากทราบว่า จริง ๆ แล้วอาจารย์อายุเท่าไหร่

ผมยังเด็กมาก (หัวเราะ) 25  ปี ครับ

 

จำนวนสมาชิกในครอบครัว

เรามีกัน 4 คน คือ พ่อ แม่ ผม และมีพี่ชาย 1 คน

 

1

 

ประวัติการศึกษา

ผมศึกษามัธยมต้นที่หมู่บ้านเล็ก ๆ (Bharpur village) , Tehri Garwwal  พอ 12 ขวบ  ผมก็เดินทางมา ฤษีเกศ เพื่อศึกษาต่อ มัธยม ปลาย (Intermediate School from Uttarakhand board) และเรียน จบมหาวิทยาลัยได้ภายใน 5 ปี สำหรับคนเรียนดี (B.Sc. from HNB Garhwal University  ประมาณปี2008

 

กิจกรรมส่วนตัว

ผมชอบอ่านหนังสือ  ทำอาหาร ดูหนังการ์ตูน และวาดรูป

 

2

 

วิถีสู่โยคะ

ผมเริ่มเรียน โยคะเมื่อตอนอายุได้ 18 ปี ผมเรียนที่เจราม อัสแรม 6 เดือน (Jai Ram Ashram, Rishikesh ‘Uttarakhand Sanskrit)  โรงเรียนโยคะแห่งแรกที่ผมเรียน คนทั่วไปเรียนโยคะฟรีที่อาศรม (Ashram) คือ อาศรมไหนถ้ามีชาริตี้ (Charity) ใครก็เรียนได้ไม่จำกัดว่าต้องเฉพาะคนอินเดีย  จากนั้นก็เรียน TCC ที่  Rishikesh Yoga Alliance  200 ชม แล้วต่ออีก 6 เดือน Deploma course in Yoga  ที่ Om Rudra Culture Society จากนั้นเรียนอีก 1 ปี (post graduate diploma in Yogic science ที่  Panjab Sindh Chhetra Sanskrit Maha-Vidyalaya, Rishikesh. Uttarakhand Sanskrit University, Haridwar

3

ผมเชื่อในคำพูดสันสกฤตคำหนึ่ง สักกาเรวาด  (Satkaryawad) หมายถึง  เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงเกิด เพราะการเกิดขึ้นของสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น ทุกสิ่งที่เกิดเป็นเหตุเป็นปัจจัย และเชื่อมโยงถึงกันเสมอ   เราอาจไม่รู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะ จะเป็นยังผลอย่างไรในอนาคต แต่สิ่งที่เกิดย่อมนำไปสู่อะไรเสมอ  รวมถึงบางสิ่งที่ดับไป เพราะสิ่งหนึ่งนั้นได้ดับไปเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ผมอยู่ฤษีเกศ ผมเรียนโยคะ จากนั้นได้มีโอกาสเข้ามากรุงเทพ มาเป็นครูสอนโยคะ  ผมได้รู้จักคุณ   ผมกลับประเทศผม จากนั้นก็นำไปสู่การคิดจัดตั้ง  รูทส์ 8 โยคะ นี้ขึ้นมา   เรียกว่า เหตุเกิดก่อน การกระทำเกิดที่หลัง  แต่จริง ๆ แล้วสำหรับเราทั่วไปเชื่อว่า การกระทำเกิดก่อน เหตุจึงตามมา   หรือเช่นก่อนหน้านั้น ผมสนใจโยคะ แต่ผมไม่อาจทราบได้ว่า  ก้าวต่อไปโยคะจะนำผมไปสู่อะไร

 

รู้สึกอย่างไรเมื่อเริ่มเรียนโยคะคร้ังแรก

ผมก็ทำตามเขาไปเรื่อย ๆ เมื่อเข้าฝึกโยคะได้สักพัก ครูแยกผมจากกลุ่มที่โดยปรกติ มีคนฝึกอาสนะร่วมกันมากกว่า 35-40คน หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ อาศรมมีงาน ต้องการนำเสนอโยคะแก่บุคคลทั่วไป  ครูเลยแยกผมและเพื่อน ๆ อีก 10 คน มาฝึกต่างหาก ผมไม่รู้ แต่ครูแยกผมมา หลายคนงง  เพราะผมเพิ่งมาใหม่  ผมก็มุ่งมั่นฝึกโยคะของผมไปเรื่อย ๆ

หลังจากนั้นผมจึงเริ่มเข้าใจโยคะมากขึ้น จากการฝึกอาสนะ จากการอ่าน จากการพูดคุยกับครูอาจารย์และคนทั่วไป  ผมเป็นเด็กช่างคุยช่างถาม ผมชอบคุยกับผู้เฒ่าในหมู่บ้าน  ก็ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

หลังจากนั้น 6 เดือน ผมจึงมีโอกาสเดินทางไปเดลี  ผมสอนที่เดลี 1 ปี ตามบ้าน  เป็นการสอนแบบส่วนตัว ช่วงนั้นผมรู้สึกว่า ทุกคนไ่ม่ได้สนใจเรียนโยคะแบบที่ผมเรียน ทุกคนแค่ต้องการทำอะไรก็ได้ในเวลาว่างที่มี   เหมือนไว้คุยกันในวงสังคมเพื่อนฝูงมากกว่า ว่าเออ ชั้นมีกิจกรรมเรียนโยคะน๊ะ  และชั้นก็มีครูสอนส่วนตัวด้วยหล่ะ อะไรประมาณนี้

ผมรู้จักเพื่อนคนหนึ่งที่ (พบกันที่ เจราม อัสแรม)  เขาเป็นคนเงียบขรีม แต่ข้างในมีอะไรมาก ๆ ที่ทำให้ผมถูกชะตากัน นั่นคือ  Mr. Indu Shekhar  เพราะเขา ผมจึงเดินทางกลับไปฤษีเกศอีกครั้ง แต่ตอนนั้นเขามาสอนเมืองไทย เราไม่ค่อยพูดกันมากเท่าไหร่ตอนนั้น  ไม่ค่อยได้ขลุกอยู่ด้วยกันมาก ต่างคนต่างฝึก แต่ผมก็ไม่รู้ว่าทำไมเรารู้สึกดีต่อกัน บางทีอาจเพราะเราชอบในสิ่งเดียวกัน เขาแชร์ให้ผม ผมแชร์ให้เขา จากนั้นเราก็เป็นเพื่อนกันตลอดมา เราคุยกันเสมอ ๆ  วันหนึ่ง เรานั่งกอดเข่าร้องไห้ด้วยกัน แล้วก็ตัดพ้อในโชคชะตากันว่า ทำไมพระเจ้าไม่มาหาเราบ้าง (อึ้งไปเล็กน้อย)

ความแตกต่างระหว่างเรา คือ ผมพูดเยอะ เขาพูดน้อย เช่น ถ้าคุณถามผม ทำอย่างไรถึงจะเก่งโยคะ ผมก็จะอธิบายคุณได้เป็นวรรคเป็นเวร แต่ถ้าถามเขา เขาจะตอบว่า ฝึกไปเถอะ ฝึกอย่างเดียว  ผมอาจสอนคุณ ทำงี้สิ ทำงั้นสิ แต่เขาจะเชื่อว่า ฝึกโยคะด้วยความศรัทธาเท่านั้นพอ

เพราะผมพูดเก่ง แต่เขาเงียบขรึม เราจึงเข้ากันได้ ถ้าพูดเก่งทั้งคู่คงไม่มีใครฟังใคร

จากนั้นผมจบ  TCC program  ที่สอง  มีครูโรเชียน  (Roshan) เป็นอีกคนที่ส่งเสริมผม ให้พัฒนามากขี้น จนทุกวันนี้ ถ้าผมมีโอกาสพบเจอเขา ผมก็ยังพูดคุยซักถามเขา  โต้วาทีกับเขา เราแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเสมอ ๆ

สุดท้าย ผมจึงได้มาที่กรุงเทพนี่เมื่อเกือบสองปีที่แล้ว  ครูอามัน  (ขณะนั้นเป็นครูสอนโยคะที่สถาบันหนึ่งในกรุงเทพ) เขาพาผมมาทำงานที่นี่ เขาไปสอบถามหาครูมาสอนโยคะที่กรุงเทพกับครูโรเชียน  (Roshan) ที่ Reshikesh Yoga Peeth  โรเชียนจึงแนะนำผมให้ครูอามัน โรเชียนโทรหาผม ผมประหลาดใจมาก  ตอนนี้ เคราผมยาวเหมือนฤษี อามันเห็นผมครั้งแรกจึงให้ความเคารพผมมาก นึีกว่าผมเป็นฤษี (หัวเราะ)  เขานึกว่าผมน่าจะประมาณ 35ปี แต่จริง ๆ ผมเด็กกว่าเขามาก ส่วนผมก็นึกว่าเขาแก่กว่าผมแน่ ๆ เพราะเขาตัวใหญ่  ผมได้ฝึกโยคะเพิ่มอีก 1  ปี ก่อนเดินทางมาสอนโยคะอย่างจริงจังที่กรุงเทพ

4

บุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจ

ผมเคารพทุกคนที่เข้าใจในชีวิต  ผ่านร้อนหนาวในประสบการณ์ชีวิต ผมเรียนจากทุกคนรอบตัว   แม้แต่เพื่อนผู้หญิงที่สนิทกันช่วงระยะเวลาหนึ่งที่อินเดีย  ผมก็ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่างจากเธอ ถ้าผมอยู่โดดเดี่ยวคนเดียว ผมอาจไม่เข้าใจอะไรในชีวิต  ดังนั้น ประสบการณ์ชีวิตผมส่วนใหญ่จึงมาจากคนรอบตัว  และคนที่คอยสนับสนุนผมรอบๆ ตัวจึงมีความสำคัญมาก

คือจะเป็นใครก็ได้ ถ้าเขาสามารถเปลี่ยนความคิดผมได้ ผมก็นับถือทุกคน  ในหน้าที่การงานผมอาจเป็นครู แต่ผมก็เป็นนักเรียนด้วยในขณะเดียวกัน ในปรัชญาอินเดีย สองสิ่งสำคัญคือ กูรู (ครู) และ ซีเซีย (นักเรียน)  คนสองคนต่างคนก็ต่างช่วยเหลือกันและกัน ไม่ใช่ครูต้องช่วยนักเรียนเสมอไป เช่น บางทีนักเรียนถามอะไรที่ครูไม่รู้ ก็ทำให้ครูต้องไปหาคำตอบนั้น เพื่อมาตอบคำถามนักเรียนให้ได้  นั้นคือ นักเรียนก็มีส่วนช่วยครูในการหาคำตอบ  ที่รูทส์ 8 เรามีบอร์ดคำถาม ผมหรือใครก็ได้ สามารถตั้งคำถามไว้ที่บอร์ด และบางคนอาจมาตอบคำถามของใครอีกคนต่อก็ได้

 

มีความเปลี่ยนแปลงอะไรหลังจากที่ได้ก้าวเข้าสู่ในวิถีของโยคะ

ผมก็ไม่ใช่ผู้รู้ทุกอย่าง การโพซิชั่นนิ่งตัวเองเป็นกูรู เราก็อาจพลาดการเรียนรู้อะไรไปด้วยความทะนงตัว  ในวิถีนี้ผมคิดว่า ชีวิตที่แท้จริงคือการได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ชีวิตร่วมกันมากกว่า

 

นักเรียนที่ได้สอนในกรุงเทพเป็นอย่างไร

นักเรียนที่นี่จะถามแต่เรื่อง อาสนะ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า นั่นเป็นเรื่องที่ดีน่ะ  แต่อย่างน้อยผมว่า ก็ควรถามเรื่องอื่น ๆ  ด้วย  (หัวเราะ) เช่น ปรัชญา ความรู้ความเข้าใจใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่อะไรต่อไป ส่วนใหญ่ทุกคนมุ่งมั่นที่จะทำอาสนะให้ดีอย่างเดียว  แต่ในใจผมอยากให้ทุกคนอิมพรูปมากกว่าการทำอาสนะครับ

 

5

 

คำแนะนำสำหรับคนที่ฝึกโยคะใหม่ 

คนที่มาฝึกโยคะใหม่ดังที่ทุกคนเรียกว่า Beginner เขาอาจไม่ใช่ บีกินเนอร์แท้ ๆ ก็ได้  จริงอยู่สำหรับการฝึกอาสนะ เขาอาจใหม่ ไม่รู้ท่ารู้ทาง แต่ความคิด ความอ่าน พลังงาน เอเนอร์จีต่าง ๆ ที่เปล่งประกายออกมา มันคนละอย่าง ดังนั้นส่วนตัวผมคิดว่า เขาจึงอาจไม่ใช่บีกินเนอร์เหมือนที่ทุกคนเข้าใจ  สำหรับผม การฝึกร่างกาย ฝึกอาสนะ อาจจะใช่  แต่ข้างในนั้นเขาไม่ใช่เลย ซึ่งนั่นป็นอะไรที่น่าสนใจมาก

 

ความแตกต่างระหว่างคนฝึก10 ปี กับ คนฝึกใหม่

ระยะเวลาการฝึกฝนอาจไม่ใช่ตัวชี้วัดทั้งหมด  คนที่ฝึกมา 10 ปีเขาอาจไม่ได้อิมพรูฟ (improve) อะไรในตัวเขาเท่ากับคนฝึก 1 ปีก็ได้ อันนี้ผมขอพูดถึงทาง ด้านจิตใจ  ทางปัญญา องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ (Mentally or Psychically)   การปล่อยวาง (detachment) น่ะครับ

 

เราฝึกโยคะ เพื่อนำไปสู่อะไร

เราอาจพบปะพูดคุยกับอาจารย์ (Guru) เกี่ยวกับปรัชญาชีวิต แต่เราต้องทำความเข้าใจเรื่องนั้น ๆ ด้วยตัวเองทั้งสิ้น ขณะเดียวกันก็ต้องเปิดใจกว้าง เรียนรู้จากคนใกล้เคียงด้วย   ตอนเด็ก ๆ ผมเห็นตัวหนังสือที่ทางการเขียนบนพื้นถนนว่า  “ห้ามฉี่ตรงนี้”  ผมคิดสงสัยในใจว่า ทำไมถึงห้ามฉ่ีหล่ะ  แต่ถึงจะห้าม ก็ยังมีคนฉี่อยู่ดี เมื่อผมโตขึ้น ผมจึงเข้าใจว่า  เพราะคนทำไม่ถูก เขาจึงห้าม

ดังนั้น การเรียนรู้นำไปสู่การพัฒนาทางความคิด และความเข้าใจ บางสิ่งบางอย่างอาจเปลี่ยนได้ หลังจากเราเข้าใจสิ่งต่าง ๆ มากขึ้นด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง

มันคือวิถีของการเรียนรู้ การใช้ร่างกายเพื่อฝึกใจให้นิ่ง มีสมาธิ เพื่อนำไปสู่ความสงบ หรือ Detachment คือ สงบจากโลกภายนอก  เพราะโลกภายนอกไม่ใช่ของจริง เป็นมายา ส่ิงที่เห็นอาจไม่ใช่ของจริง  วิถีของมันเป็นวิวัฒนาการของการเรียนรู้ ผมเชื่อว่าทุกคนมีศักยภาพของการเรียนรู้ และนำไปสู่การพัฒนาตนเอง ทั้งร่ายกายและสิ่งสำคัญที่สุด คือ จิตใจ ครับ